เมนู

ทรงประทับอยู่ในที่นั้น ๆ. เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความนั้นกระจ่าง
ท่านจึงทำการแสดงไขเป็นตติยาวิภัตติในบทนั้น.
แต่ในที่นี้ และในที่อื่น ที่มีใจความอย่างนี้ สมยศัพท์ลงในอรรถ
แห่งทุติยาวิภัตติ จริงอยู่ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
พระสูตรนี้หรือสูตรอื่น ในสมัยนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ คือ กรุณาโดยส่วนเดียวทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อให้ใจ
ความนั้นกระจ่าง ท่านจึงทำการแสดงไขเป็นทุติยาวิภัตติในบทนี้.
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
เพ่งถึงใจความนั้น ๆ แล้ว ท่านกล่าว สมย ศัพท์
ไว้ในที่อื่นด้วย สัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ แต่
ในที่นี้ท่านกล่าว สมย ศัพท์นั้นไว้ด้วยทุติยาวิภัตติ.

ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้ว่า สมย ศัพท์นั้น
มีประเภทที่แยกพูดได้ดังนี้ว่า ตสฺมึ สมเย, เตน สมเยน หรือว่า
ตํ สมยํ แต่ว่าโดยใจความ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ในที่ทั้งปวง
ดังนี้. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าวว่า เอกํ สมยํ พึงทราบใจความ
ว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.

อธิบาย ภควา


คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. เพราะว่าคนทั้งหลาย
เรียกครูในโลกว่า ภควา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ชื่อว่า เป็นครู ของ
สัตว์ทุกจำพวก เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วยพระคุณทุกอย่าง เพราะฉะนั้น
พึงทราบครูว่า ภควา ดังนี้.

ถึงแม้ว่าท่านโบราณจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ, คำว่า ภควา เป็น
คำสูงสุด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกท่านผู้ประกอบ
ด้วยความเคารพนับถือว่า ภควา ดังนี้
อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท่านกล่าวว่า ภควา
เพราะมีพระภาคยะ (บารมีธรรม). เพราะหักออก
เสียซึ่งกองกิเลส เพราะประกอบด้วยบุญศิริ (เพราะ
จำแนกกรรม) เพราะเสวยพรหมวิหารธรรม และ
เพราะคายเสียซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้ง 3.

พึงทราบเนื้อความของบทว่า ภควา นี้ ด้วยอำนาจคาถานี้ โดย
พิสดาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า ภควา นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธา-
นุสสตินิเทศ ในวิสุทธิมรรค.
ก็ในอธิการนี้ ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้ พระเถระเมื่อแสดงธรรม
ตามที่ตนได้ฟังมา ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุตํ ชื่อว่า ย่อมทำสรีระ คือ
พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์ เพราะนั้น พระเถระ
ย่อมยังชนที่เกิดความเบื่อหน่าย เพราะไม่เห็นพระศาสดาให้โล่งใจว่า
ปาพจน์ ที่ขาดศาสดาย่อมไม่มี นี้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย. พระเถระ
เมื่อแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอยู่ ในสมัยนั้น ด้วยคำว่า
เอกํ สมยํ ภควา ยังการดับแห่งรูปกายให้แล่นไป. เพราะเหตุนั้น
พระเถระย่อมยังชนที่เมาในชีวิตให้สลดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
พระองค์นั้น ทรงแสดงอริยธรรม มีชื่อย่างนี้ ทรงไว้ซึ่งกำลัง 10

มีพระวรกายเสมอก้อนเพชร เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประโยชน์อะไรอื่น
ที่พวกเธอพึงยังความหวังในชีวิตใช้เกิดขึ้นและยังความอุตสาหะของชนนั้น
ให้เกิดขึ้นในพระสัทธรรม.
อนึ่ง พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอวํ ย่อมแสดงไขถึงสมบัติคือเทศนา.
เมื่อกล่าวว่า เม สุตํ ย่อมแสดงไขถึงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าว เอกํ
สมยํ
ย่อมแสดงไขถึงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ภควา ย่อมแสดงไขถึง
เทสกสมบัติ.

ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา


คำว่า อุกฺกา ในคำว่า อุกฺกฏฺฐายํ วิหรติ นี้ หมายเอาดวง
ประทีป และเมืองนั้นเขาเรียกว่า อุกกัฏฐา เพราะชาวเมืองพากันชู
คบเพลิง สร้างแม้ในเวลากลางคืนด้วยหวังว่า วันมงคล ขณะดี ฤกษ์ดี
อย่าเลยไปเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะเมืองนั้นพวกชาวเมืองจุด
ประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง. ใกล้เมืองชื่ออุกกัฏฐานั้น. บทว่า "อุกฺกฏฺ-
ฐายํ"
เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็น
คำแสดงการถึงการพร้อมเพรียงแห่งการอยู่ ในบรรดาการอยู่ด้วยการผัด
เปลี่ยนอิริยาบถ การอยู่อย่างเทพ, การอยู่อย่างพรหม และการอยู่อย่างพระ
อริยะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต่างกัน. แต่ในที่นี้ เป็นการแสดงการ
ประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถ (ทั้ง 4) คือ
ยืน เดิน นั่ง และนอน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนิน
ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า ประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่